ข่าวสาร

การตรวจโรคหัวใจในแมวด้วยตัวอย่างเลือด

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว (Hypertrophic cardiomyopathy; HCM)   แมวที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มักไม่มีอาการที่เฉพาะสำหรับบ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจ อาการทางคลินิกที่พบ เช่น ซึม กินอาหารน้อยลง อาเจียน หรือ หายใจลำบาก อย่างไรก็ตาม แมวส่วนมากที่เป็นโรคหัวใจชนิดนี้ อาจจะไม่มีการแสดงอาการทางคลินิก ทำให้การวินิจฉัยโรคหัวใจชนิดนี้ ค่อนข้างยาก ซึ่งหากมีการทำวางยาสลบเพื่อผ่าตัดทำหมัน ก็อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้


การใช้ Cardiac Biomarker

ปัจจุบัน Cardiac Biomarker เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมกัน  ซี่งก็มีอยู่หลายตัว แต่ตัวที่น่าสนใจในปัจจุบันคือ N-terminal of pro-brain natriuretic peptide (NT-Pro BNP) โดยในภาวะปกติ Pro BNP จะถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจมีการยืดตัวออก โดยจะช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอย่างอ่อน ซึ่งปริมาณของ Pro BNP จะเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของความเสียหายของหัวใจ หรือตามการขยายขนาดของหัวใจเพิ่มมากขึ้น การยืดหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำให้ Pro BNP ถูกตัดออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ NT-Pro BNP และ C-BNP      โดย NT-Pro BNP จะมีระยะเวลาค่าครี่งชีวิตและการคงตัวในกระแสเลือดยาวนานกว่า ทำให้นิยมตรวจหาปริมาณ NT-Pro BNP เป็นหลัก


 


ข้อดีของการตรวจวิธีนี้คือ ทำได้ค่อนข้างง่าย ตรวจได้รวดเร็ว ทำให้ง่ายต่อการจัดการและเฝ้าระวัง เช่น ในมวกลุ่มพันธุ์ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ เช่น Maine coon, Ragdoll การตรวจก่อนทำการผ่าตัด จะช่วยทำให้สามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก และช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้ด้วย

                                            


บทความโดย

น.สพ.พีรสุทธิ์ เพียรพิจิตร (หมอเอด)

คลินิกโรคหัวใจและระบบทางเดินหายใจ


โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (VET4)

Tel : 02-953-8085

Line : http://line.me/ti/p/~@vet4

Website : www.vet4hospital.com

Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2


ย้อนกลับ