ข่าวสาร

ภาวะความดันโลหิตสูงในแมว (Hypertention in Feline Patient)

ในสมัยก่อนการวินิจฉัยว่าสัตว์เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ต้องใช้ วิธีการตรวจโดยการใช้เครื่องมือแทงเข้าไปในเส้นเลือดสัตว์ (Direct Method) แต่ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือชนิดใหม่ที่ทันสมัย สามารถวินิจฉัยได้ก่อนที่สัตว์จะ เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น ตาบอด อีกทั้งวิธีการตรวจทําได้ง่าย สัตว์ไม่เจ็บปวด ใช้เวลาไม่นาน และมีความถูกต้องแน่นอนมากกว่าเดิม


ภาวะความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันเลือดในหัวใจและหลอดเลือด (Heart and Blood vessels) สูงกว่าค่าปกติ การทํางานร่วมกันอย่างสมดุลย์ของระบบประสาท น้ำและค่าอิเล็กโตรไรท์ (รวมทั้งโซเดียม) ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายมีผลทําให้ค่าความดันเลือดในร่างกายเป็นปกติเมื่อที่ค่าดังกล่าวต้องเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะความเจ็บป่วยในร่างกาย จะทําให้ค่าความดันในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปกติ


การเกิดภาวะความดันในโลหิตสูงจะทําให้หัวใจทํางานหนักมากขึ้นมีผลทําให้เกิดการทําลายของสิ้นหัวใจ และเส้นเลือดที่หลอดเลือดหัวใจ (Coronary arteries) กล้ามเนื้อหัวใจทํางานหนักเกิดลิ้นหัวใจรั่ว ทําให้เกิดของเหลวไปสะสมที่สมอง สัตว์มีอาการหัวสั่น ๆ มีพฤติกรรมแปลกๆ ชักและตายแบบเฉียบพลัน


ในคนที่เป็นโรติความดันเลือดสูง พบว่า 95% ของคนดังกล่าวไม่มีการแสดงอาการของความดันเลือดสูงให้ปรากฏ เราเรียกภาวะนี้ว่าเป็นภาวะปฐมภูมิ (Primary hypertension) ในแมวมักปรากฏว่าการเกิดภาวะความดันเลือดสูงมักมาจากการเกิดโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดภาวะความดันเลือดสูงมาแทรกซ้อน (Secondary Hypertension) โดยเฉพาะในภาวะโรคไตวายเรื้อรัง ภาวะของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) ในแมวอายุมากในทางสัตวแพทย์พบว่า ค่าความดันเลือดในแมวมีการผันแปรหลายระดับมาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน เช่น ความเครียดในตัวสัตว์ป่วย การที่จะติดความตื่นเต้นก่อนการวัดความดัน อาจทําโดยการปล่อยแมวไว้ในห้องที่จะทําการวัดอย่างน้อย 15 นาทีก่อนวัด เพื่อให้แมวได้คุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ ห้องควรจะเงียบและให้อยู่กับเจ้าของด้วย


สาเหตุทั่วไป

ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวส่วนมากจะพบควบคู่ไปกับการเกิดโรคในร่างกาย เช่น โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงผิดปกติ (Hyperthyroidism) ภาวะโรคไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) โรคไตวายเรื้อรังมีผลทําให้ความดันที่หลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral resistance) สูงขึ้น ซึ่งสภาวะนี้มัก เกิดจากการที่แมวมีอายุมากขึ้น ขนาดของไตจะหดตัวเล็กลงทําให้เลือดที่ผ่านมาที่ไตไม่เพียงพอโดยปกติจะต้องมีมากกว่า 20% ของเลือดที่บีบออกมาจากหัวใจ เป็นผลให้มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)


บทความโดย

คลินิกแมว ( CAT CLINIC )

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (24 ชั่วโมง)

Tel : 02-953-8085-6
Line : http://line.me/ti/p/~@vet4
Website : www.vet4hospital.com
Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2


ย้อนกลับ