ข่าวสาร

เนื้องอก หรือมะเร็ง ?

เมื่อเจ้าของคลำพบก้อนเนื้อที่เจริญผิดปกติตามร่างกายของสัตว์เลี้ยงของท่าน ก็มักจะมีคำถามตามมาว่า แล้วก้อนนี้มันคืออะไร ร้ายแรงหรือไม่ อย่างไร

         คำตอบคือควรพาสัตว์เลี้ยงของท่านมาพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจและเก็บเซลล์ที่บริเวณนั้นไปตรวจวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

         การตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) เป็นเทคนิคที่ง่ายและรวดเร็วในการวินิจฉัย มีความแม่นยำสูง โดยถ้าพบเซลล์ที่สงสัยสามารถบอกได้ว่าเป็น

วิการอะไร แต่ความไวอาจไม่มากนัก ขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น ลักษณะของรอยโรค ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง  เทคนิคการเก็บตัวอย่าง  การมีเซลล์อักเสบ

เซลล์เม็ดเลือดขาวมากเกินไป และประสบการณ์ของสัตวแพทย์เอง อาจทำให้ตรวจไม่พบเซลล์ที่สงสัยในครั้งนั้นๆได้


             


     กลุ่มเซลล์ที่พบได้ ดังนี้


1.       กลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดขาว

a.       พบเซลล์เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลเป็นจำนวนมาก จะบ่งบอกถึงภาวะการอักเสบและหรือติดเชื้อ แสดงว่าก้อนนั้นอาจเป็นฝีหรือหนอง

b.       ถ้าพบเซลล์อีโอสิโนฟิล เป็นจำนวนมาก บ่งถึง กลุ่มภาวะภูมิแพ้ผิวหนัง  การเกิดพยาธิไชผิวหนัง  เป็นเชื้อรา  หรือ Mast cell tumor 

c.       ถ้าพบเซลล์ลิมโฟไซต์เป็นจำนวนมาก บ่งถึงการอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันถึงเรื้อรังหรือการตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัสในช่วงต้นได้

2.       กลุ่มเซลล์เนื้องอกต่างๆ

a.       Epithelial cell เช่น squamous cell carcinoma, perianal gland tumor, basal cell tumor, transitional cell carcinoma,

          lung tumor หรือ mammary gland adenocarcinoma

b.       Spindle cell tumor เช่น hemangioma, fibroma,  myxoma,  osteosarcoma, hemangiopericytoma, melanosarcoma,

          fibrosarcoma

c.       Round cell tumor เช่น mast cell tumor, histiocytoma, lymphoma, transmissible venereal tumor, plasmacytoma เป็นต้น

d.       Naked nuclei neoplasms เช่น thyroid tumor, islet cell tumor, insulinoma เป็นต้น

3.       กลุ่มที่ตอบสนองต่อภาวะการเสื่อมของเนื้อเยื่อ

a.       Hemorrhage การเกิดเลือดออก พบได้ทั้งชนิดเลือดสดและก้อนเลือด

b.       Proteinaceous debris ลักษณะเป็นแถบหรือเส้นใยสีชมพู เกิดจากการตายของเซลล์ หรือเป็นส่วนของสิ่งคัดหลั่งในวิการ ทำให้

          ยากต่อการวินิจฉัย

c.       Cholesterol crystal เป็นผลึกที่เกิดจากการสลายตัวของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ มักพบในราย  epidermal cyst หรือ follicular cyst

d.       Necrosis and fibrosis เซลล์เนื้อตาย

4.       กลุ่มการติดเชื้อต่างๆ

                   เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา sporotrichosis, cutaneous histoplasmosis, blastomycosis, cryptococcosis เป็นต้น


เมื่อเราทราบผลแล้วก็สามารถวางแผนการรักษาตามผลตรวจได้ ซึ่งก็จะแตกต่างกันไป ตามชนิดของเซลล์ที่รายงานมา บางชนิดใช้การผ่าตัด บางอย่างสามารถรักษาด้วยเคมีบำบัดได้ บางอย่างต้องทำทั้งผ่าตัดและเคมีบำบัดร่วมกัน หรืออาจต้องใช้รังสีรักษา เป็นต้น


บทความโดย

สพ.ญ.ศิริลักษณ์ วงษ์ตั้งมั่น (หมอเก่ง)

สัตวแพทย์อายุรศาสตร์ฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤต

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 (24 ชั่วโมง)
Tel : 02-953-8085-6
Line : http://line.me/ti/p/~@vet4
Website : www.vet4hospital.com
Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2

ย้อนกลับ