การตั้งท้องเทียมในสุนัข (Pseudopregnancy)

ไขข้อสงสัยอาการท้องเทียมในสุนัข เมื่อเจ้าของพบว่า น้องสุนัขตัวเมียที่บ้านมีอาการตั้งท้องเป็นคุณแม่ แต่ทำไมกันนะ น้องไม่มีลูก ??


            การตั้งท้องเทียม (Pseudopregnancy)

ความหมายของการตั้งท้องเทียม คือ “ภาวะที่มีการตั้งท้องและมีนํ้านมโดยที่สัตว์ไม่ได้ตั้งท้องจริงๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะทําให้เกิดการขยายใหญ่ของช่องท้อง เต้านมใหญ่ขึ้น และมีการผลิตนํ้านมเป็นการเลียนแบบอาการของการตั้งท้องทั้งสิ้นโดยจะพบภายหลังช่วงเป็นประมาณ 60 วัน สุนัขจะมีพฤติกรรมของการเป็นแม่”



            


            สาเหตุของการเกิดภาวะการตั้งท้องเทียมในสุนัข

อุบัติการณ์ประเมินได้ค่อนข้างยากอย่างไรก็ตามพบว่า สัตว์ที่มีอาการท้องเทียมประมาณ 50 – 70% จะมีเฉพาะอาการ แต่สาเหตุของการตั้งท้องเทียมไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เข้าใจกันว่า เกิดจากการทำหน้าที่มากเกินไปของต่อมใต้สมองส่วนหน้า และการตอบสนองต่อการคงอยู่ของคอร์ปัสลูเตียม และการหลั่งโปรเจสเตอโรนตลอดเวลา

            

            จากการศึกษาภาวะการตั้งท้องเทียมของสุนัข สรุปสาเหตุได้ดังนี้

1. เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของโปรแลคตินในช่วง Diestrus

2. มีการเพิ่มการตอบสนองต่อต่อมไร้ท้อในช่วงท้ายของ Diestrus

3. เนื่องจากฉีด Exogenous progestins

4. การขาดโปรเจสเตอโรนเนื่องจาก

         - การตัดรังไข่ออกในช่วง Diestrus

         - การรักษาโดยใช้ Progestins

         - การเสื่อมสลายของคอร์ปัสลูเทียม อย่างกระทันหันเนื่องจากถูกเหนี่ยวนําด้วยพรอสตราแกนดิน

5. ภาวะ Hyperprolactinemia


            อาการทางคลินิกและการตรวจวินิจฉัย

อาการตั้งท้องเทียมมักจะเกิดขึ้นหลังจากระยะเป็นสัด 6-12 สัปดาห์ จนเลยระยะตั้งท้องไปหลายสัปดาห์จึงหาย ทำให้เจ้าของคิดว่าสุนัขตัวเองตั้งท้อง อาจพบในสุนัขสาวที่เริ่มมีวงรอบการเป็นสัดครั้งแรก และอาจเกิดขึ้นทุก ๆ ครั้งของวงรอบการเป็นสัด


            อาการโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1. Covert pseudopregnancy แม่สุนัขจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยจนถึงขั้นไม่แสดงอาการออกมาเลย

2. Overt pseudopregnancy แบบนี้สัตว์จะแสดงอาการชัดเจนมากจะหมือนกับสุนัขที่ตั้งท้องตามปกติทุกประการ คือ นํ้าหนักเพิ่ม ช่องท้องและเต้านมขยายใหญ่หัวนมบวมตึงเมื่อบีบจะพบว่ามีนํ้าใส ๆ ไหลหรือนํ้านมออกมา มีเมือกไหลออกมาจากทางช่องคลอด บางรายแสดงอาการแพ้ท้อง เช่น อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร บางตัวกินเก่งและนอนแก่งมากขึ้นจนถึงระยะเวลาสุนัขจะแสดงอาการเหมือนจะคลอดลูก มีการสร้างรังเพื่อคลอดลูก ต่อมาอาการจะค่อย ๆ หายไป โดยท้องและเต้านมจะค่อย ๆ ยุบลง และอาการอื่น ๆ ก็จะหายไป

            

            การตรวจวินิจฉัย การคลําตรวจช่องท้องหรือใช้เครื่องอัลตราซาวด์ในระยะเวลาที่เหมาะสม จะไม่พบตัวลูก


            การรักษา

- มักจะไม่ค่อยจำเป็นในการรักษา เพราะส่วนใหญ่จะหายไปเอง แต่ถ้าจะรักษาก็เพียงเพื่อต้องการลดหรือกําจัดการผลิตนํ้านม ลดอุบัติการการเกิดเต้านมอักเสบที่เป็นผลมาจากการคั่งค้างของนํ้านม

- ในกรณีที่กลับมาเป็นบ่อย ๆ อาจจะแนะนําให้รับการรักาด้วยการผ่าตัด เพื่อตัดเอามดลูกและรังไข่ออกเสีย


บทความโดย สพ.ญ. พัชรนันท์ เทพส่ง

Vet 4 Animal Hospital
Tel 02-119-4571-2 (สาขาสุขุมวิท)
Line: @vet4.suk31
ย้อนกลับ