ข่าวสาร

อาการเดินเซ (Ataxia)

      อาการเดินเซ (Ataxia) แบ่งออกเป็น ประเภทดังนี้


1. การเดินเซที่เกิดจากการรับส่งประสาททั่วไป (proprioceptive ataxia) ซึ่งอาจเกิดจากรอยโรคที่ ไขสันหลัง ไปจนถึงก้านสมองทำให้การทำงานของขาไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ (proprioceptive ataxia) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความนี้

2. การเดินเซ จากปัญหาของสมองน้อย (cerebellar ataxia)

3. การเดินเซ จากปัญหาของระบบการทรงตัว (vestibular ataxia)


    Proprioceptive ataxia คือ การเดินเซ ที่เกิดจาก ประสาทการรับรู้เกี่ยวกับการทำให้ร่างกายอยู่ในท่าทางปกติ มันผิดเพี้ยนไปจากปกติ หรือยกตัวอย่างง่ายให้นึกถึง สุนัขที่เป็น อัมพาตสองขาหลัง หรือ อัมพาตทั้งสี่ขา


   โดยปกติ ร่างกายจะอยู่ในลักษณะท่าทางที่ควรจะเป็น หากต้องการจะยืน ก็จะยืนได้ หรือต้องการจะเดิน ก็จะเดินได้ปกติซึ่งการทำงานให้ทุกอย่างมันอยู่ในลักษณะที่ปกติ ต้องใช้ ส่วนประกอบหลัก ได้แก่


1. ประสาทการรับรู้ (sensory) ที่ต้องผ่านประสาทขาเข้า (afferent pathway)

2. ศูนย์ประมวลผล (สมอง) 
3. กลุ่มกล้ามเนื้อที่ถูกสั่งการ ให้เกิดการเคลื่อนไหว(motor activity)ซึ่งต้องผ่านเส้นประสาทขาออก (efferent pathway)


               


        โดยในที่นี้ จะขอเปรียบสมอง เป็น คอมพิวเตอร์แล้วกัน จะได้เข้าใจง่ายขึ้น (รึเปล่า??)


1. ประสาทการรับรู้ (sensory) ร่างกายมีประสาทรับรู้ของรยางค์ ว่ามันควรยืนหรือเดินอย่างไรให้ปกติ โดยรับสัญญาณมาจากมัดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ พวกเอ็น พอรับข้อมูลมา จะมีการส่งกระแสประสาท เพื่อไปประมวลผลที่สมอง ถ้าเปรียบเทียบก็จะคล้ายกับ การที่เรากำลังนั่งพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง"ตัวรับสัญญาณประสาท" ก็จะเปรียบเหมือนเป็น "คีย์บอร์ด" ที่ใช้ใส่ข้อมูล แต่ข้อมูลจะไปถึง CPU ของคอมไม่ได้ ถ้าเราไม่มี "สายไฟ" ซึ่งไอ้สายไฟนี่แหละ เราจะเปรียบเทียบเหมือนกับ "เส้นประสาท" ที่นำข้อมูลจากคีย์บอร์ด ส่งไปยัง "CPU" หรือ " สมอง" ของเรา


2. เครื่องประมวลผล หรือสมอง จะทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วประมวลว่า จะตอบสนองต่อสิ่งที่รับมาอย่างไร ยกตัวอย่าง เมื่อเท้าเรา แตะโดนพื้นที่แหลมๆ หรือเดินไปเหยียบเศษแก้ว สมองจะรับรู้ว่า เอ้ย!! เหยียบโดนแก้ว นี่มันเจ็บนะเฮ้ยย !! เราก็จะยกเท้าหนีเศษแก้ว


3. กล้ามเนื้อที่ถูกสั่งการ ให้เกิดการเคลื่อนไหว (motor activity) ได้แก่กลุ่มมัดกล้ามเนื้อลาย

ขอกลับมาประเด็น การพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์


สุดท้ายนี้ เมื่อรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดมา ประมวลผลที่ CPU แล้ว สิ่งที่เรามองเห็นว่าเราพิมพ์อะไรลงไปใน word จะแสดงออกมาให้เห็นผ่านหน้าจอ มอนิเตอร์ของคอม และแน่นอน ถ้าไม่มีสายไฟที่ต่อกับจอแสดงผลก็จะไม่มีการอะไรบนหน้าจอคอมของเรา ในร่างกายก็เช่นกัน เมื่อประมวลผลที่สมองแล้ว ก็ต้องมีจอแสดงผล ซึ่งก็คือกลุ่มมัดกล้ามเนื้อลายนั่นเองที่ จะหดตัวหรือจะยืดตัว ก็ว่ากันไปตามข้อมูลที่สมองมันสั่งการมา


มื่อเข้าใจการทำงานคร่าวๆ ของคอมพิวเตอร์ เอ้ยย ระบบประสาทแล้ว เรามาดูกันถ้าสายไฟแต่ละเส้นมันขาด จะเกิดอะไรขึ้น

คอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์เสริมหลายอย่าง อาจเป็นลำโพง จอมอนิเตอร์ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ต้องใช้สายไฟเชื่อมต่อ ซึ่งเปรียบได้เหมือนแขนขาของเรา ที่มีเส้นประสาทระโยงระยางเต็มไปหมด ไอ้เส้นประสาทส่วนปลายพวกนี้เราเรียกว่า peripheral nerve

แต่ในร่างกายจะมีสายไฟ เส้นใหญ่ ที่รับข้อมูลของสายไฟเส้นเล็กอีกที นั่นก็คือไขสันหลัง (spinal cord)


1. Monoparesis อัมพาตขาเดียว ถ้าสายไฟเส้นเล็กขาด เช่น สายไฟของลำโพงข้างขวาขาด ลำโพงเฉพาะ ข้างขวา ก็จะไม่มีเสียงออกมา ก็เหมือนกับ ถ้าเส้นประสาทขาหลังขวา แค่ข้างเดียวมันทำงานไม่ได้ ก็กลายเป็นอัมพาตขาเดียว (monoparesis)


2. Postparesis อัมพาตช่วงท้าย (ไขสันหลังส่วน อก-เอว; thoracolumbar และส่วนเอว lumbar) ถ้าสายไฟที่รับข้อมูลสายใหญ่ของลำโพงทั้งสองข้างขาด ก็จะทำให้ลำโพงไม่ดังทั้งสองข้าง ในที่นี้ จะเปรียบกับไขสันหลัง ช่วงท้ายมีปัญหาทำให้สัญญาประสาท จากขาหลัง ส่งเข้า และส่งออกจากสมองไม่ได้ ถ้าพังน้อย ก็อาจจะรับรู้ความรู้สึกได้บ้าง ถ้าพังมากก็รับรู้หรือสั่งการไม่ได้เลย ซึ่งจะเรียงความพังตามเกรดของอัมพาต


3. Tetraparesis หรืออัมพาต ขา ก็จะคล้ายๆกับ อัมพาตช่วงท้าย แต่แค่ต่างตรงที่ ไขสันหลังที่มันพังมันอยู่ด้านหน้าเลย (ไขสันหลังส่วนคอ; cervical spinal cord และ คอถึงอก ; cervicothoracic spinal cord) หรืออาจจะเป็นตั้งแต่ ก้านสมองเลยก็ได้ ถ้าเปรียบเทียบ อาจจะเหมือนแผงรับสายไฟของอุปกรณ์เสริมทุกอย่างของคอมพิวเตอร์มันพัง เลยไม่สามารถรับส่งข้อมูลอะไรได้เลย


4. Orthopedic ขาที่พัง ไม่ได้เกิดจากเส้นประสาท แต่เกิดจากโครงสร้างขาพัง กระดูกแตก เอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีก ก็เหมือนกับ จอมอนิเตอร์แตก ไม่ได้พังที่สายไฟ แต่พังที่หน้าจอ


บทความโดย

สพ.ญ. ภณิดา เมฆโสภาวรรณกุล (หมอออย)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4
Tel : 02-953-8085-6

ย้อนกลับ