ข่าวสาร

โรคขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ในแมว (Feline demodicosis)

Feline demodicosis หรือ โรคขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ในแมว เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่มีสาเหตุมาจาก Demodex spp. ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Demodex cati โดยเชื้อชนิดนี้อาศัยและเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนอยู่ในต่อมขน ส่งผลให้เกิดผิวหนังอักเสบแบบเฉพาะที่หรือผิวหนังอักเสบแบบกระจายทั่วร่างกาย โดยเชื้อชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อไปยังแมวตัวอื่นได้ นอกจากนี้เชื้อที่ก่อโรคอีกหนึ่งชนิดที่พบได้คือ Demodex gatoi ซึ่งเชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในชั้นผิวหนังสตราตัมคอร์เนียม และเป็นเชื้อสามารถติดต่อไปยังแมวตัวอื่นได้

อาการ
โรคขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ที่เกิดจากเชื้อ Demodex cati พบว่าสัตว์จะมีขนร่วงเป็นหย่อมกระจายทั่วไป ร่วมกับการเกิดผิวหนังแดง มีสะเก็ด(crust) มักพบรอยโรคที่บริเวณรอบตา คาง หัว และลำคอ บางครั้งสามารถทำให้เกิดช่องหูส่วนนอกอักเสบ โดยระดับความคันของแมวแต่ละตัวนั้นไม่แน่นอน  ส่วนโรคขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์ที่เกิดจากเชื้อ Demodex gatoi พบว่าสัตว์จะมีอาการคันรุนแรงรวมกับขนร่วง ผิวหนังแดง มีการเกิดรอยถลอก(excoriation) สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย

                         

การวินิจฉัย
ในการวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการขูดตรวจผิวหนังแบบลึก(skin scraping)เพื่อหาตัวไร 

การรักษา
ยาที่ได้ผลดีและปลอดภัยในการรักษาโรคขี้เรื้อนดีโมเด็กซ์คือ lime sulfer 2% โดยผสมยากับน้ำด้วยอัตราส่วนยา 4 ออนซ์ต่อน้ำ 1 แกลอน ใช้จุ่มให้ทั่วตัวแมว สัปดาห์ละครั้ง และทำการรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ภายหลังการตรวจผิวหนังแล้วไม่พบตัวไร

บทความโดย

สพ.ญ.กิจตาภรณ์ แสงจันทร์ (หมอฟ้า)

คลินิกแมว (CAT CLINIC)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4

Tel : 02-953-8085-6

ย้อนกลับ