ข่าวสาร

อันตรายของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง

ปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สุนัขและแมวอาจไม่แสดงอาการออกมาชัดเจน นอกจากจะมีอาการไอและหอบซึ่งทำให้เราสงสัยถึงโรคหัวใจ แต่อาการจากโรคหัวใจบางชนิดอาจไม่พบอาการดังกล่าว สุนัขอาจล้มฟุบหมดสติเหมือนเป็นลมเป็นครั้งคราว (Syncope) ทำให้เจ้าของสัตว์มองข้ามความสำคัญของอาการของโรคหัวใจ ทั้ง ๆ ที่มีผลทำให้สุนัขเสียชีวิตแบบเฉียบบพลัน (Acute Collapse)


แม้จะมีการป้องกันให้แก่สุนัขที่ถูกยุงกัดโดยการกินยาหรือฉีดยาประจำทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรคพยาธิ์หนอนหัวใจแล้วก็ตาม แต่โรคหัวใจยังมีความผิดปกติอื่นอีกมากมาย เช่น ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่หัวใจ ถุงหุ้มหัวใจหรือลิ้น ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนควรให้การเอาใจใส่ดูแลและเข้าใจอาการเริ่มต้นของโรคหัวใจเป็นอย่างดีพบว่าวงการสัตวแพทย์ในประเทศไทยก็มีความก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าวงการแพทย์ของคนเช่นกัน โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ในการรักษาคน โดยการสื่อสารผ่านทางจอมอนิเตอร์กำลังได้รับการพัฒนาในหมู่คนไข้โรคหัวใจในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เช่น ยุโรปและอเมริกา หรือที่เรียกว่า Telemedicine คือแพทย์จะทำการรักษาโดยผ่านทางระบบสื่อสารทางไกล โดยคนไข้ไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ เพียงติดอุปกรณ์ตัวจิ๋วไว้ที่ตัวคนก็สามารถติดต่อถึงกันได้


ในปัจจุบันวงการสัตวแพทย์ อาจมีไม่กี่แห่งที่มีการนำประโยชน์จาก Telemedicine มาประยุกต์ใช้ในสัตว์เช่นเดียวกันกับคน โดยนำเครื่องมือตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่สามารถประเมินสัตว์ในระยะเวลานานตลอดทั้งวันโดยสื่อสารผ่านทางจอภาพเพื่อให้ทราบภาวะที่แท้จริงของสัตว์ ที่เรียกว่าเครื่อง Telemetry และ Holter Monitoring เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้สามารถประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระยะเวลานาน โดยสุนัขสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติจนกว่าจะมีอาการ โดยสัตวแพทย์สามารถทราบได้จากตัวรับ (Receiver) ที่ติดบนตัวสัตว์ ทำให้เกิดความสะดวก และสามารถวัดการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบในขณะพามาตรวจที่โรงพยาบาลสัตว์


การที่เราสามารถตรวจพบการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ จะช่วยให้เรารักษาโรคหัวใจได้จำเพาะมากขึ้น สามารถช่วยให้สุนัขมีชีวิตยาวมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเฝ้าที่ตัวสัตว์ตลอดเวลา แต่สามารถติดอุปกรณ์ที่สามารถส่งผลความผิดปกติมาให้สัตวแพทย์ทราบในรูปแบบของคลื่นบนจอภาพได้ตลอดเวลา 24 ชม.


มีสุนัขหลายตัวที่ต้องเสียชีวิตภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถควบคุมภาวการณ์เต้นของหัวใจที่ผิดปกติหากไม่มี Telemetry เป็นตัวคอยชี้บอกโดยการส่งเสียงเตือนทุกครั้งที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ ทำให้สัตวแพทย์ในทีมฉุกเฉิน (Emergency Team) ทราบ และแก้ไขได้ทันท่วงที ดังนั้น Telemetry จึงเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถช่วยชีวิตสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างมากในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน


สุนัขควรได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี การตรวจเฉพาะทางเกี่ยวกับหัวใจ อาจจำเป็นกรณีสุนัขมีอายุมาก หรือมีอาการล้มฟุบหมดสติ หรือพันธ์ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ลาบราดอร์, โดเบอร์แมน หรือ ค็อกเกอร์เป็นต้น


คลินิกโรคหัวใจและทางเดินหายใจ

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 

Tel : 02-953-8085 

Line : http://line.me/ti/p/~@vet4

Website : www.vet4hospital.com

Map : https://goo.gl/maps/h5xR4waakFD2

ย้อนกลับ