ข่าวสาร

การช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น...ทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

เมื่อพบว่าน้องหมาหรือน้องแมวเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว โดยทั่วไปจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควรมีความเข้าใจและดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถทำให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

·        สังเกตความอยากอาหาร ควรรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ไม่ควรน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ

·        สังเกตปริมาณการกินน้ำ และปัสสาวะ หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพบความผิดปกติเกิดขึ้น อาจบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงจากการให้ยาขับน้ำ หรือ อาการหัวใจล้มเหลวทรุดลง หรือ การแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดจากโรคหัวใจ เช่น โรคตับ โรคไต

·        สังเกตอัตราการหายใจ โดยมีการนับอัตราการหายใจในช่วงพักหรือหลับ นับจำนวนครั้งการหายใจใน 1 นาที ปกติน้อยกว่า 30-40 ครั้งต่อนาที หากมีการเพิ่มขึ้นหรือมีอาการต่อเนื่องไปอีก 2 -3 วัน อาจมีภาวะน้ำท่วมปอดได้

 ยาโรคหัวใจ

·        ควรทำการให้ยาตรงตามเวลา และ ก่อนหรือหลังอาหารตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด

·        ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับยาแต่ละชนิดที่น้องทาน และผลข้างเคียงของการให้ยา เพื่อสังเกตอาการกรณีแพ้ยา หรือ ได้รับยาเกินขนาดได้ (กรณีเจ้าของหลายคน อาจป้อนยาซ้ำซ้อนกัน)

·        การตรวจประเมินผลหลังให้ยา ในการนัดหมายแต่ละครั้ง ควรนำยาที่เหลือทั้งหมดมาด้วย เพื่อตรวจสอบดูว่าน้องได้รับยาครบหรือเปล่า หรือ กรณีน้องมีอาการทรุดลงหรือไม่คงที่ ไม่ทานอาหาร เราเลยไม่ได้ให้น้องกินยา อาจต้องทำสมุดบันทึกด้วย และแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ

·        ทำกาตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อเฝ้าระวังการทำงานของตับ ไต และเกลือแร่ (เช่น โพแทสเซียม) กรณีได้รับยาเป็นเวลานานๆ

อาหารสำหรับโรคหัวใจ

·        การลดปริมาณเกลือในอาหารเป็นคำแนะนำที่ต้องทำ เพราะมีโอกาสเกิดการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกายได้ง่าย

·        อาหารตามท้องตลาดทั่วไป หรือ อาหารคนมักมีเกลือสูง ควรปรุงเอง เพื่อจำกัดการใส่เกลือ น้ำปลา หรือ ซีอิ้ว

·        แต่อาหารเฉพาะโรคทั่วไป จะมีการจำกัดปริมาณเกลืออย่างเข้มงวดอยู่แล้ว

การออกกำลังกาย

การที่สัตว์มีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกายเป็นอาการหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว ควรออกกำลังกายปานกลางและสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการปรับการทำงานของหัวใจ  ไม่จำเป็นต้องถึงกับงดการออกกำลังกายเลย แต่ไม่ควรบังคับ  และหากพบอาการเป็นลมควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

ย้อนกลับ